วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554

โปรแกรมนำเสนอข้อมูล2007

                                      โปรแกรมนำเสนอข้อมูล2007

                     

 


จุดประสงค์รายวิชา

จุดประสงค์รายวิชา

1. เข้าใจบทบาทและความสำคัญของการนำเสนอข้อมูล
2. รู้หลักการ วิธีการนำเสนอผลงานโดยใช้โปรแกรมนำเสนอ
3. มีทักษะการใช้โปรแกรมนำเสนอ
4. มีกิจนิสัยและส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ดี ในการใช้คอมพิวเตอร์ 

มาตราฐานรายวิชา

 
1. อธิบายความหมายและความสำคัญของการนำเสนอข้อมูลในงานธุรกิจ
2. อธิบายความหมาย หน้าที่ และส่วนประกอบของโปรแกรมนำเสนอข้อมูล
3. ประยุกต์ใช้โปรแกรมนำเสนอข้อมูลในการนำเสนอขอมูลทางธุรกิจ 


คำอธิบายรายวิชา


ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับความหมายและความสำคัญของการนำเสนอข้อมูล
หลักการออกแบบงานที่จะนำเสนอ การใช้โปรแกรมการนำเสนอข้อมูล



โปรแกรมสำหรับงานกราฟิก

 ซอฟต์แวร์กราฟิกเป็นสิ่งสำคัญพื้นฐานที่ระบบการแสดงภาพกราฟิกทุกระบบจะ ต้องมีในปัจจุบันเราพบเห็นสิ่งที่เป็นงานด้านกราฟิกซึ่งเป็นผลผลิตจาก คอมพิวเตอร์อยู่มากมาย ไม่ว่าจะเป็นเกมคอมพิวเตอร์ วีดีโอเกม แผ่นพับ โฆษณา
 การ์ตูน ภาพยนตร์ และภาพกราฟิกอื่น ๆ ซึ่งเบื้องหลังของผลงานเหล่านี้ เกิดจากระบบคอมพิวเตอร์ที่มีซอฟต์แวร์หรือ
โปรแกรมสำหรับสร้างภาพกราฟิกเป็นส่วนสำคัญในอดีตซอฟต์แวร์กราฟิกจะมีราคาแพงแต่ปัจจุบันราคาของซอฟต์แวร์กราฟิกถูกลงมาก


ประเภทของโปรแกรมสำหรับงานกราฟิก

        โปรแกรมสำหรับงานกราฟิกที่มีขายอยู่ในท้องตลาดมี หลายโปรแกรมแต่ละโปรแกรมมีความสามารถเฉพาะทางไม่ว่าจะเป็นการวาดภาพ การแก้ไขตกแต่งภาพ การนำเสนอผลงานกราฟิก การสร้างภาพเคลื่อนไหว ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญอย่างยิ่งในการสร้างผลงานด้านคอมพิวเตอร์กราฟิก โปรแกรมสำหรับงานกราฟิกแสดงแบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ ๆ ตามแผนภาพดังนี้

1. โปรแกรมกราฟิกวาดภาพ (Drawing Graphice Program)
2.โปรแกรม กราฟิกการนำเสนอ(presentation graphics Program)



 โปรแกรมกราฟิกวาดภาพ (Drawing Graphice Program)
            โปรแกรมประเภทนี้ใช้สร้างสรรค์ งานศิลปะหรือผลิตผลงานคุณภาพสูง ภาพที่ซับซ้อนทางวิศวกรรม ทางสถาปัตยกรรม และภาพกราฟิกอื่น ๆ แต่ละโปรแกรมจะมีลักษณะใช้เฉพาะงาน ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ

                   1. โปรแกรมสร้างและตกแต่งภาพ
                   2.  โปรแกรมช่วยออกแบบ






โปรแกรม กราฟิกการนำเสนอ(presentation graphics Program)
 
        โปรแกรมกราฟิกการนำเสนอใช้นำเสนอข้อมูลหรือผลงานในรูปกราฟิก ซึ่งมี 4 ประเภท คือ
        1. โปรแกรมการนำเสนอข้อมูลซึ่งเป็นโปรแกรมที่สามารถนำเสนอข้อมูลภาพ รูปกราฟิกต่าง ๆได้ โดยไม่สามารถแก้ไขได้ เช่น โปรแกรมบราวเซอร์
        2.โปรแกรมการสร้างและการนำเสนอข้อมูล สามารถสร้างและแก้ไขข้อมูลซึ่งเป็นตัวอักษร ภาพ รูปกราฟต่าง ๆ เพื่อนำมาแสดงหรือนำเสนอได้ง่าย ตัวอย่างโปรแกรมประเภทนี้ได้แก่ โปรแกรมฮาร์เวิร์ด กราฟิก (Harvard Graphic) โปรแกรมโลตัสฟรีแลนซ์ (Lotus Freelance) และโปรแกรมไมโครซอฟต์เพาเวอร์พอยต์ (Microsoft PowerPoint)
        3. โปรแกรมการนำเสนอข้อมูลกราฟิก โปรแกรมประเภทนี้ใช้ข้อมูลจากการเก็บรวบรวม คำนวณ หรือทดลองมาแสดงผลเป็นรูปกราฟ 2 มิติ หรือกราฟ 3 มิติ ทำให้เข้าใจความสัมพันธ์ของข้อมูลได้ดียิ่งขึ้น ตัวอย่างโปรแกรมประเภทนี้ได้แก่ โปรแกรมไมโครซอฟต์เอกเซล (Microsoft Excel)
        4.โปรแกรมการนำเสนอกราฟิกเฉพาะทาง เช่น การสร้างแผนที่อากาศ การทดสอบเครื่องบินในอุโมงค์ลม การสร้างภาพนามธรรม

ตัวอย่างโปรแกรมกราฟิกการนำเสนอ
 การสร้างภาพกราฟิกด้วยคอมพิวเตอร์มีเทคนิคอยู่    2  วิธี คือ
                        1.   ภาพแบบบิตแม็ป (bitmap)  หรือกราฟิกแรสเตอร์  (raster graphic) หรือกราฟิกจุดภาพ(pixel graphic)
                        2.  ภาพแบบเวคเตอร์ (Vector) หรือกราฟิกเชิงวัตถุ (object-oriented graphic)
                        ภาพกราฟิกที่สร้างด้วยวิธีการทั้งสองแบบมีความเหมาะสมต่อการใช้งานที่แตกต่างกัน จึงควรมีความเข้าใจถึงลักษณะและข้อดีข้อเสียของวิธีการทั้งสองแบบ เพื่อนำไปเลือกใช้งานได้อย่างเหมาะสม
 การจัดเก็บแฟ้มภาพกราฟิก                       ในงานกราฟิกนั้นจะมีการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สร้างหรือแก้ไขภาพกราฟิก ซึ่งจะพบว่า ความเร็วในการประมวลผลภาพแต่ละภาพช้าเร็วต่างกัน ทั้งนี้เพราะว่า แต่ละแฟ้มภาพใช้เนื้อที่ในการเก็บข้อมูลไม่เท่ากัน ซึ่งจะขึ้นกับอยู่กับความละเอียดของภาพ จำนวนสี และรูปแบบของแฟ้มข้อมูล

ความละเอียดของภาพ
                       ความละเอียดของภาพ  หมายถึง จำนวนจุดภาพที่ใช้ประกอบกันเป็นภาพหรือความละเอียดจากการสแกนภาพ  การแสดงภาพได้ละเอียดมากเท่าใดนั้นขึ้นอยู่กับประเภทของจอภาพ VGA จะแสดงภาพได้ละเอียดน้อยกว่า SVGA ความละเอียดของภาพสามารถบอกเป็นตัวเลขสองจำนวน เช่น ความละเอียดของภาพขนาด1024x768 ซึ่งเมื่อคำนวณออกมาแล้วก็คือจำนวนจุดที่จอภาพสามารถสร้างออกมาได้ ในกรณีนี้เลขจำนวนแรกคือจำนวนจุดในแนวนอนซึ่งเท่ากับ 1024 จุด ตัวเลขจำนวนที่สองคือจำนวนจุดในแนวตั้ง ซึ่งเท่ากับ 768 จุด

1.ควรเลือกใช้จำนวนสีให้เหมาะสม การใช้จำนวนสีมากจะทำให้ได้ภาพที่มีคุณภาพสูง แต่จะสิ้นเปลืองเนื้อที่ในการเก็บข้อมูลมาก ดังนั้นการเลือกใช้จำนวนสีที่เหมาะสมกับภาพจะทำให้เปลืองเนื้อที่น้อยกว่า และส่งผลให้สามารถประมวลผลภาพได้เร็วขึ้น ตัวอย่างเช่น ภาพที่ใช้จำนวนสี 16 ล้านสี (24 บิต) ต้องการเนื้อที่ต่อจุดเป็น 3 เท่าของภาพที่ใช้จำนวนสี 256 สี ภาพบางภาพที่เป็นแผนภูมิอาจใช้จำนวนสี 16 สี ก็พอเพียง
            2.ควรเลือกรูปแบบแฟ้มข้อมูลกราฟิกที่ทำให้การจัดเก็บข้อมูลมีขนาดลดลง รูปแบบแฟ้มข้อมูลกราฟิกมีผลต่อขนาดลดลง รูปแบบแฟ้มข้อมูลกราฟิกมีผลต่อขนาดของแฟ้มข้อมูล
                     - รูปแบบแฟ้มข้อมูลกราฟิกแบบ bmp ถูกออกแบบให้นำไปแสดงผลได้รวดเร็วบนระบบปฏิบัติการวินโดวส์ สามารถแสดงสีได้เป็นจำนวนมาก คุณภาพของภาพดี แต่แฟ้มชนิดนี้จะใช้เนื้อที่มก ไม่เหมาะกับการใช้งานบนดินเทอร์เน็ต เนื่องจากต้องใช้เวลาในการดึงแฟ้มข้อมูลภาพนาน
                     -รูปแบบแฟ้มข้อมูลกราฟิกแบบเจเพ็ก(.jpg) มีขนาดแฟ้มภาพกราฟิกหนึ่งในสามของรูปแบบแฟ้มข้อมูลกราฟิกที่มีส่วนขยายเป็น gif คุณภาพของภาพพอใช้                
                     -รูปแบบแฟ้มข้อมูลกราฟิกแบบจิฟ(.gif) ขนาดของแฟ้มข้อมูลมีขนาดไม่ใหญ่มาก สามารถแสดงสีได้ 256 สี คุณภาพของภาพปานกลางเหมาะกับการใช้งานบนอินเทอร์เน็ต เนื่องจากสามารถดึงแฟ้มข้อมูลภาพได้เร็วกว่าแฟ้มข้อมูลภาพที่มีส่วนขยายเป็น bmp

                     ภาพกราฟิกที่มีขนาดเท่ากัน แฟ้มข้อมูลกราฟิกที่มีส่วนขยายเป็น bmp จะมีขนาดใหญ่ที่สุด  รองลงมาเป็นแฟ้มข้อมูลกราฟิกที่มีส่วนขยายเป็น gif และ แฟ้มข้อมูลกราฟิกที่มีส่วนขยายเป็น jpg ตามลำดับ  แต่ในทำนองกลับกันคุณภาพของแฟ้มข้อมูลที่มีส่วนขยายเป็น bmp จะมีคุณภาพดีที่สุด ดังนั้นควรเลือกรูปแบบแฟ้มข้อมูลกราฟิกที่เหมาะสมกับการใช้งานเพื่อจะได้ไม่ สิ้นเปลืองเนื้อที่ในการจัดเก็บภาพกราฟิก
          3. เลือกใช้โปรแกรมบีบอัดข้อมูล ในกรณีที่ไม่สามารถเก็บภาพในรูปแบบแฟ้มที่ลดขนาดข้อมูล การเลือกใช้โปรแกรมบีบอัดข้อมูลบางตัว เช่น pkzip หรือ winzip จะช่วยลดขนาดข้อมูลในการจัดเก็บลงแฟ้มได้


บทที่ 1 การนำเสนอข้อมูล

ความหมายของการนำเสนอข้อมูล

การนำเสนอข้อมูล หมายถึง การสื่อสารเพื่อเสนอข้อมูล ความรู้ ความคิดเห็น หรือ ความต้องการไปสู่ผู้รับสาร โดยใช้เทคนิคหรือวิธีการต่างๆ อันจะทำให้บรรลุผลสำเร็จตามจุดมุ่งหมายของการนำเสนอ

ความสำคัญของการนำเสนอ

ในปัจจุบันนี้การนำเสนอเข้ามามีบทบาทสำคัญในองค์กรทางธุรกิจ ทางการเมือง ทางการศึกษา หรือแม้แต่หน่วยงานของรัฐทุกแห่ง ก็ต้องอาศัยวิธีการนำเสนอเพื่อสื่อสารข้อมูล เสนอความเห็น เสนอขออนุมัติ หรือเสนอข้อสรุปผลการดำเนินงานต่างๆ ผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ การแนะนำเพื่อการเยี่ยมชม การฝึกอบรม การประชุม หรือผู้ที่เป็นหัวหน้างานทุกระดับจะต้องรู้จักวิธีการนำเสนอ เพื่อนำไปใช้ให้เหมาะสมกับงานต่างๆ และเพื่อผลสำเร็จของการพัฒนางานของตน หรือขององค์กรและหน่วยงานต่างๆ กล่าวโดยสรุป การนำเสนอมีความสำคัญ ต่อการปฏิบัติงานทุกประเภท เพราะช่วยในการตัดสินใจในการดำเนินงาน ใช้ในการพัฒนางาน ตลอดจนเผยแพร่ความก้าวหน้าของงานต่อผู้บังคับบัญชา และบุคคลผู้ที่สนใจ

จุดมุ่งหมายในการนำเสนอ

1. เพื่อให้ผู้รับสารรับทราบความคิดเห็นหรือความต้องการ เช่น ในการประชุมคณะ กรรมการต่างๆ ประธานในที่ประชุมจะต้องชี้แจงวาระการประชุมให้ที่ประชุมรับทราบ ที่มักเรียกกันว่าเรื่องที่ประธานจะแจ้งให้ทราบ

2. เพื่อให้ผู้รับสารพิจารณาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น ในการประชุมคณะกรรมการแต่ละครั้งคณะกรรมการฝ่ายต่างๆ จะต้องชี้แจงข้อมูลหรือแสดงความคิดเห็นให้ที่ประชุมรับได้ทราบ เพื่อประกอบการพิจารณาวินิจฉัยหรือลงมติที่ประชุม


3. เพื่อให้ผู้รับสารได้รับความรู้จากข้อมูลที่นำเสนอ เช่น ในการฝึกอบรมหรือการสัมมนา วิทยากรหรือผู้เชี่ยวชาญจะต้องนำเสนอข้อมูลที่เป็นข้อความรู้ และข้อเท็จจริงต่างๆ ให้แก่ผู้เข้าฝึกอบรม หรือใช้ ในการบรรยายสรุปผลการดำเนินงานต่างๆ เพื่อให้ผู้มาเยี่ยมชมกิจการ หรือผู้บังคับบัญชาที่เดินทาง มาตรวจเยี่ยมได้รับทราบ


4. เพื่อให้ผู้รับสารเกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง เช่น การชี้แจงระเบียบหรือวิธีการปฏิบัติต่าง ๆ ให้แก่ผู้เกี่ยวข้องเข้าใจ โดยเฉพาะเมื่อมีการออกระเบียบใหม่หรือเปลี่ยนแนวทางในการปฏิบัติ ก็จำเป็นต้องชี้แจงเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันและปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง


ประเภทของการนำเสนอ

1. การนำเสนอเฉพาะกลุ่ม เป็นการนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ ต่อผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องหรือผู้ที่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมรับทราบข้อมูล ในการนำเสนอ
2. การนำเสนอทั่วไปในที่สาธารณะ เป็นการนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ ที่เปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปเข้าร่วมฟังการนำเสนอได้ มีการเปิดโอกาสให้ผู้ฟัง ได้ซักถามเพิ่มเติมหรือแสดงความคิดเห็นได้อีกด้วย


ลักษณะของข้อมูลที่นำเสนอ

ในการนำเสนอแต่ละครั้งนั้น สามารถนำข้อมูลที่มีลักษณะแตกต่างกันมาร่วม นำเสนอด้วยกันได้ ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของผู้นำเสนอ ข้อมูลที่จะนำเสนอแบ่งออกตามลักษณะของข้อมูล ได้แก่

1. ข้อเท็จจริง หมายถึงข้อความที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ เรื่องราวที่เป็นมาหรือเป็นอยู่ตามความจริง หรือสามารถตรวจสอบให้เป็นที่ประจักษ์ได้ว่าเป็นความจริง อาจเป็นความรู้ที่ได้จากการทดสอบหรือทดลองทางวิทยาศาสตร์ก็ได้ สามารถนำมาใช้เป็นหลักฐาน ข้ออ้างอิงสำหรับกล่าวอ้างถึงในการพิสูจน์สิ่งใดสิ่งหนึ่งได้


2. ข้อคิดเห็น เป็นความเห็นอันเกิดจากประเด็นหรือเรื่องราวที่ชวนให้คิด อาจเป็นความรู้สึก ความเชื่อถือหรือแนวคิดที่ผู้นำเสนอมีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ความเห็นของแต่ละคนอาจแตกต่างกันได้ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพื้นฐานและประสบการณ์ของแต่ละบุคคล ข้อคิดเห็นต่างจากข้อเท็จจริง คือ ข้อเท็จจริงเป็นเรื่องจริงที่ยอมรับกันโดยทั่วไป แต่ข้อคิดเห็นอาจมีทั้งผู้เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผู้ฟังเป็นผู้ตัดสินใจว่าข้อคิดเห็นนั้น ๆ น่ารับฟังหรือไม่ สมเหตุสมผลเพียงใด ข้อคิดเห็นมีลักษณะต่าง ๆ กัน

           2.1. ข้อคิดเห็นเชิงเหตุผล เป็นข้อคิดเห็นที่อ้างถึงเหตุผล อ้างถึงข้อเปรียบเทียบที่ เชื่อถือได้ และความมีเหตุผลต่อกัน โดยชี้ให้ผู้รับฟังเห็นว่า ควรทำอย่างนั้นเพราะเหตุเช่นนี้ แต่ถ้าไม่ทำอย่างที่กล่าวก็จะมีผลตามมาอย่างไรบ้าง โดยทั้งหมดนี้เป็นเหตุผลของผู้แสดง ความคิดเห็นเท่านั้น
  

บทที่ 2 โปรแกรมนำเสนอข้อมูล

แนะนำโปรแกรม

โปรแกรมนำเสนองานที่ศึกษาในบทนี้จะใช้โปรแกรม Microsoft PowerPoint ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ใช้งานได้ง่าย และสะดวกในการใช้งานมาก โปรแกรมนี้จึงเป็นโปรแกรมที่นิยมใช้กันแพร่หลาย Microsoft PowerPoint เป็นโปรแกรมหนึ่งในชุดของโปรแกรม Microsoft Office 2007 มีคุณสมบัติหลายอย่างได้รับการพัฒนาให้มีขีดความสามารถมากขึ้น ใช้ในการนำเสนอข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้สามารถสร้างงานในการนำเสนอได้หลากหลายรูปแบบ โดยสามารถนำข้อความ รูปภาพ ตาราง แผนภูมิต่าง ๆ ตลอดจนภาพเคลื่อนไหวและเสียง มาประกอบเข้าด้วยกันเป็นลักษณะสื่อประสมเพื่อสร้างเป็นงานนำเสนอต่อผู้อื่น ได้อย่างสวยงามและน่าตื่นตาตื่นใจ

การเข้าสู่โปรแกรม

1. คลิกที่ปุ่ม Start
2. เลือกเมนู Program
3. เลือกเมนู Microsoft Office
(บางเครื่องอาจไม่มีเมนูนี้)
4. คลิกที่ Microsoft PowerPoint


ส่วนประกอบของหน้าจอ

1. แถบหัวเรื่อง (Titlebar) คือแถบที่ใช้แสดงชื่อโปรแกรมและชื่อไฟล์ที่เปิดอยู่ในขณะนั้น
2. เมนู (Menubar) คือแถบที่ใช้เก็บรวบรวมคำสั่งทั้งหมดที่ใช้ในโปรแกรม
3. แถบเครื่องมือ (Toolbar) คือแถบที่ใช้เก็บปุ่มคำสั่งที่ต้องการเรียกใช้งานบ่อย ๆ
4. แท็บภาพนิ่ง (Slide Tab) คือพื้นที่ที่ใช้แสดงรูปสไลด์แบบเล็ก ๆ เพื่อให้ผู้ใช้เห็นภาพโดยรวม
5. แท็บเค้าร่าง (Outline Tab) คือแท็บที่ใช้แสดงเค้าโครงข้อความที่อยู่ในแต่ละสไลด์
6. พื้นที่แสดงสไลด์ (Slide Area) คือพื้นที่สำหรับการตกแต่งสไลด์ เช่น พิมพ์ข้อความ,วาดรูป
7. หน้าต่างบันทึกย่อ (Note Pane) คือพื้นที่ส่วนที่ใช้ในการพิมพ์บันทึกย่อเพื่ออธิบายเพิ่มเติม
8. มุมมองสไลด์ (Slide View) คือพื้นที่ที่ใช้ในการมองสไลด์ในมุมมองแบบต่าง ๆ
9. บานหน้าต่างงาน (Task Pane) ส่วนที่ใช้แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับรูปแบบในการสร้างสไลด์


วิธีสร้างงานนำเสนอ

การสร้างงานนำเสนอสามารถสร้างได้ 3 วิธีด้วยกันดังนี้คือ
1. สร้างงานจากงานนำเสนอเปล่า (Blank)
2. สร้างงานจากแม่แบบออกแบบ (Template)
3. สร้างงานจากตัวช่วยสร้างเนื้อหาอัตโนมัติ (AutoContent Wizard)


การสร้างงานนำเสนอเปล่า

1. คลิกที่คำสั่ง งานนำเสนอเปล่า จากบานหน้าต่างงานนำเสนอใหม่
2. จะปรากฏ เค้าโครงภาพนิ่ง ให้ทำการคลิกเลือกแบบ เค้าโครงภาพนิ่ง
3. ทำการคลิกเพื่อพิมพ์ข้อความหรือแทรกรูปต่าง ๆ ลงในพื้นที่แสดงสไลด์
4. เมื่อต้องการสร้างภาพนิ่งสไลด์เพิ่มเติม ให้คลิกที่เครื่องมือสร้างภาพนิ่งแล้ว
ปฏิบัติตามข้อ 3 จะกระทำกี่สไลด์ก็ได้จนกระทั่งครบเนื้อหาที่ต้องการใช้ง

บทที่ 3 การสร้างงานนำเสนอ

การสร้างงานนำเสนอเปล่า

การสร้างงานนำเสนอเปล่า เป็นวิธีการสร้างงานนำเสนอโดยที่ผู้สร้างงานเป็นผู้ออกแบบพื้นหลัง แบบของตัวอักษร ตลอดจนรายละเอียดต่าง ๆ ของงานนำเสนอเองทั้งหมดโดยปฏิบัติตามขั้นตอนดังนี้

          1.
คลิกที่ งานนำเสนอเปล่า จะปรากฏเค้าโครงภาพนิ่ง
          2.
ให้คลิกที่เค้าโครงภาพนิ่งแบบที่ต้องการ
          3.
ให้คลิกที่บริเวณ คลิกเพื่อเพิ่มชื่อเรื่อง เพื่อพิมพ์ข้อความที่ต้องการ






วัตถุที่อยู่บนพื้นที่แสดงสไลด์

ข้อความหรือรูปภาพต่าง ๆ ที่วางอยู่บนพื้นที่แสดงสไลด์ถือว่าเป็นวัตถุ(Object) ทั้งหมด เมื่อต้องการกระทำใด ๆ ให้คลิกเพื่อเลือกวัตถุนั้น ๆ

จากพื้นที่แสดงสไลด์ด้านบน ประกอบด้วยวัตถุ 1 ชิ้นคือ ข้อความ วิทยาลัยอาชีวศึกษาฉะเชิงเทราถ้าต้องการกระทำใด ๆ เช่นเปลี่ยนขนาด เปลี่ยนสี ย้ายตำแหน่ง ฯลฯ จะต้องทำการเลือกวัตถุที่ต้องการกระทำเสียก่อนจึงจะสามารถทำการเปลี่ยนแปลงได้ จากตัวอย่างเป็นการเลือกวัตถุทั้ง 3 ชิ้น ถ้ามีกระทำใด ๆ เกิดขึ้นหมายถึงวัตถุทั้ง 3 ชิ้นนี้จะมีการเปลี่ยนแปลง เราสามารถทำการเลือกวัตถุได้โดยคลิกเมาส์ที่บริเวณวัตถุชิ้นที่ต้องการเลือก ในกรณีที่ต้องการเลือกมากกว่า 1 ชิ้น ให้กดปุ่ม Shift ค้างไว้เพื่อเลือกวัตถุตั้งแต่ชิ้นที่ 2 เป็นต้นไป าน



บทที่ 4 การปรับแต่งข้อความ

การพิมพ์ข้อความ เป็นการแสดงรายละเอียดที่เราต้องการถ่ายทอดให้กับผู้ชมงานนำเสนอได้ทราบข้อมูลที่ต้องการสื่อสารให้รับรู้โดยถ่ายทอดเป็นตัวหนังสือ มีขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. คลิกที่กรอบสำหรับกรอกข้อความ คลิกเพื่อเพิ่มชื่อเรื่อง” สำหรับพิมพ์หัวข้อใหญ่
2. ถ้าเป็นหัวข้อย่อยให้คลิกที่ คลิกเพื่อเพิ่มชื่อเรื่องย่อย
3. พิมพ์ข้อความที่ต้องการสื่อสารหรือนำเสนอ

 การเปลี่ยนรูปแบบตัวอักษร

1. คลิกที่กรอบข้อความที่ต้องการเปลี่ยนรูปแบบให้ถูกเลือก
2. คลิกแล้วลาก(Drag) 
เพื่อระบายข้อความ
3. 
กระทำการเปลี่ยนรูปแบบตัวอักษรโดยคลิกที่เครื่องมือต่าง ๆ

 


การปรับแต่งข้อความ

1. คลิกที่บริเวณกรอบของข้อความ
2. คลิกแล้วลาก(Drag) เพื่อระบายข้อความ หรือคลิกที่กรอบข้อความให้ถูกเลือก
3. คลิกเลือกแบบอักษร ในที่นี้ให้เลือกแบบ LilyUPC
4. คลิกเลือกสีแบบอักษร
5. คลิกเปลี่ยนขนาด ในที่นี้ให้เลือกขนาด 66
6. คลิกเพื่อทำให้เป็นตัวหนา
7. ให้ทำการปรับแต่งข้อความให้มีลักษณะดังตัวอย่าง

การใช้กล่องข้อความ

1. คลิกเลือกเค้าโครงภาพนิ่งแบบว่างเปล่า
2. คลิกที่เครื่องมือ สร้างภาพนิ่ง
3. คลิกที่เครื่องมือ กล่องข้อความ
4. คลิกที่บริเวณพื้นที่ว่าง แล้วพิมพ์ข้อความ


การปรับแต่งกล่องข้อความ

1. การขยายกล่องข้อความให้คลิกแล้วลากที่บริเวณจุดวงกลม(Handle) แต่ถ้าเลือกจุดที่อยู่บริเวณมุมจะทำให้ขยายออกได้ ทิศทางคือด้านกว้างและด้านยาว
2. การหมุนข้อความให้คลิกที่วงกลมสีเขียวด้านบน
3. การย้ายข้อความให้คลิกกรอบข้อความให้เป็นลูกศรสี่ทิศทาง ทำการคลิกแล้วลากไปวางในตำแหน่งที่ต้องการ
4. การเพิ่มหรือลดขนาดของตัวอักษร ให้คลิกที่กรอบข้อความให้ถูกเลือก ทำการคลิกที่เครื่องมือเพิ่มหรือลดขนาดแบบอักษร 

                                                   
        

บทที่ 5 ตัวช่วยสร้างเนื้อหาอัตโนมัติ

1. วิธีการสร้างงานนำเสนอใน PowerPoint 2007

วิธีการสร้างงานนำเสนอชิ้นใหม่นั้นมีอยู่ด้วยกัน วิธี ซึ่งสามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะ
สมของงาน และความถนัด มีดังนี้

วิธีที่ 1
 
สร้างงานนำเสนอจาก ตัวช่วยสร้างเนื้อหาอัตโนมัติ (Auto Content Wizard) เป็นการสร้างงานนำเสนอที่ทำเสร็จในขั้นตอนเดียว PowerPoint 2007 ได้เตรียมหัวข้อการนำเสนอมาให้เลือกใช้ เมื่อเลือกแล้ว PowerPoint จะกำหนดรูปแบบในสไลด์ให้อัตโนมัติทั้งหมด เช่น สีสันของพื้นสไลด์ ลักษณะและสีของข้อความ ลำดับของสไลด์ที่เหมาะสม และข้อความที่ควรจะกล่าวถึงในแต่ละสไลด์ตามความเหมาะสม เป็นต้น ซึ่งการสร้างงานนำเสนอจากตัวช่วยสร้างเนื้อหาอัตโนมัติ ( Auto Content Wizard ) นี้ใช้เวลาไม่มาก เพียงแค่เราตอบคำถามกับการแก้ไขในแต่ละสไลด์ อีกเล็กน้อย ก็สามารถสร้างงานนำเสนอได้ทันที

วิธีที่ 2 
สร้างงานนำเสนอจาก แม่แบบออกแบบ (Template) เป็นการสร้างงานนำเสนอ โดยใช้แม่แบบที่อยู่ในโปรแกรม PowerPoint 2007 ซึ่งเมื่อเราสร้างสไลด์แผ่นใหม่คุณสมบัติต่าง ๆ ของสไลด์เดิมจะถูกถ่ายทอดไปยังสไลด์ใหม่ ๆ ทันที เช่น สีพื้นของสไลด์ และรูปแบบอักษร เป็นต้น 
การสร้างสไลด์จากแม่แบบออกแบบ (Template) จะแตกต่างจากการสร้างสไลด์ด้วย ตัวช่วยสร้างเนื้อหาอัตโนมัติ (Auto Content Wizard) ตรงที่แม่แบบนั้นไม่ได้แนะนำหัวข้อ และรูปแบบการวางข้อความในแต่ละสไลด์มาให้ ต้องจัดการด้วยตนเองทั้งหมด

วิธีที่ 
สร้างงานนำเสนอจาก งานนำเสนอเปล่า
ในกรณีที่เราไม่ชอบรูปแบบของสไลด์ หรือสีสันที่ PowerPoint 2007 กำหนดมาให้ สามารถสร้างสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเองทั้งหมด เพียงแต่เลือกสร้างงานนำเสนอจาก งานนำเสนอเปล่าเท่านั้น

2. สร้างงานนำเสนอจาก ตัวช่วยสร้างเนื้อหาอัตโนมัติ

การสร้างงานนำเสนอ จาก ตัวช่วยสร้างเนื้อหาอัตโนมัติ (Auto Content Wizard) นั้นเหมาะสำหรับผู้ที่เริ่มต้นใช้งาน PowerPoint 2007 หรือผู้ที่ไม่มีเวลาออกแบบสไลด์ เพราะการสร้างงานนำเสนอ วิธีนี้ง่ายและรวดเร็วที่สุด ซึ่งมีขั้นตอนการปฏิบัติดังนี้
1. 
เมื่อเปิดโปรแกรม PowerPoint 2007 ทางด้านขวาของโปรแกรมจะปรากฏกรอบ งาน นำเสนอใหม่ 
2. จะปรากฏกรอบ ตัวช่วยสร้างเนื้อหาอัตโนมัติ ให้คลิกปุ่ม ถัดไป > เพื่อทำขั้นตอนต่อไป
3. 
จะปรากฏกรอบ ตัวช่วยสร้างเนื้อหาอัตโนมัติ - [ทั่วไป] ให้คลิกปุ่ม ทั่วไป เพื่อเลือกประเภทของงานนำเสนอ แล้วคลิกเลือกชนิดของงานนำเสนอที่ต้องการ แล้ว คลิกปุ่ม ถัดไป > เพื่อทำขั้นตอนต่อไป
4. 
คลิกเลือกว่าจะให้แสดงผลงานนำเสนอนี้กับอุปกรณ์ใด ดังนี้ -งานนำเสนอบนหน้าจอ ( On - screen presentation )
งานนำเสนอบนเว็บ (Web presentation )- เครื่องฉายภาพข้ามศรีษะแบบขาวดำ ( Black and white overheads )
เครื่องฉายภาพข้ามศรีษะแบบสี ( Color overheads ) - ภาพนิ่ง 35 มม. ( 35 mm. Slide )
เมื่อเลือกได้ตามต้องการ แล้วคลิกปุ่ม ถัดไป > เพื่อทำขั้นตอนต่อไป
5. 
ป้อนชื่อเรื่องที่ต้องการนำเสนอในช่อง ชื่อเรื่องงานนำเสนอ : ในกรณีที่ต้องการใส่ข้อความไว้ที่ด้านล่างของสไลด์ทุก ๆ แผ่นให้ป้อนข้อความลงในช่อง ท้ายกระดาษ :
คลิกให้มี เครื่องหมายถูกหน้า วันที่ปรับปรุงครั้งล่าสุด จะกำหนดให้ PowerPoint แสดงวันที่ไว้ในสไลด์ทุก ๆ แผ่น
คลิกให้มี เครื่องหมายถูกหน้า หมายเลขภาพนิ่ง จะกำหนดให้ PowerPoint แสดงลำดับสไลด์ในทุก ๆ แผ่น แล้วคลิกปุ่ม ถัดไป > เพื่อทำขั้นตอนต่อไป
6. 
จะปรากฏ ข้อความของตัวช่วยสร้างเนื้อหาอัตโนมัติ คำตอบทั้งหมด คือสิ่งที่ตัวช่วยสร้าง จำเป็นต้องใช้ในการสร้าง งานนำเสนอของคุณ เลือก เสร็จสิ้น’ เพื่อที่จะดูเอกสาร ให้คลิกปุ่ม เสร็จสิ้น
7. 
จะปรากฏงานนำเสนอที่สร้างด้วยตัวช่วยสร้าง (Auto Content Wizard) ตามต้องการ
8. 
ในกรณีที่เราได้ซ่อน กล่องตอบโต้เริ่มต้นไปแล้ว เรายังสามารถเรียก Auto Content Wizard ได้ อีกวิธีหนึ่ง คือ เลือกคำสั่ง แฟ้ม > สร้าง จะปรากฏกรอบ งานนำเสนอใหม่ ในเมนู สร้าง ให้คลิกเลือกจากตัวช่วยสร้างเนื้อหาอัตโนมัติ เท่านี้ก็สามารถเรียก Auto Content Wizard ได้ตลอดเวลา โดยที่ไม่จำเป็นต้องเปิดโปรแกรม PowerPoint 2007 ใหม่ทุก ๆ ครั้ง
ในส่วนของเมนูสร้าง ให้คลิกเลือก จากตัวช่วยสร้างเนื้อหาอัตโนมัติ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น